http://uranian.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com
 

 หน้าแรก

 หลักสูตรศึกษา

 บทความน่ารู้

 เว็บบอร์ด-กระทู้

 Chat & Live online

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ02/09/2009
อัพเดท10/08/2016
ผู้เข้าชม41,804
เปิดเพจ62,642

กำเนิดยูเรเนี่ยน

พื้นฐานโหราศาสตร์

นิสัยราศี

iGetWeb.com
AdsOne.com

ที่มาจักรราศี

ที่มาของจักรราศี

           

            จากสมาการแห่งจักรวาลข้อที่ 1 ที่ว่า อาตมัน = ปรมาตมัน ถ้าตีความหมายว่าอาตมันคือโลก ปรมาตมันคือท้องฟ้า ธรรมชาติของโลกและท้องฟ้าจึงน่าจะเทียบเคียงกันได้ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

            1. โลกมีรูปพรรณสัณฐานกลม ท้องฟ้าจึงน่าจะกลมด้วย ซึ่งก็คือความว่างเปล่าขนาดมหึมาที่ดูคล้ายกับกำลังครอบโลกเราอยู่ เราเรียกทรงกลมความว่างเปล่านี้ว่า ทรงกลมฟ้า (Geocentric Celestial Sphere)

            2. โลกมีขั้วโลกเหนือใต้ ดังนั้นทรงกลมฟ้า ก็ควรมีขั้วฟ้าด้วย ขั้วฟ้าเหนือตรงกับขั้วโลกเหนือ ขั้วฟ้าใต้ตรงกับขั้วโลกใต้

            3. โลกมีเส้นศูนย์สูตร ทรงกลมฟ้าย่อมมีเส้นศูนย์สูตรฟ้าด้วย ซึ่งเป็นวงกลมที่ตรงกับเส้นศูนย์สูตรโลก เป็นเส้นแบ่งฟ้าเป็น 2 ซีก คือ ซีกฟ้าเหนือซีกฟ้าใต้

            4. ถ้าเรายืนอยู่บนโลกและมองออกมานอกโลก จะเห็นเหมือนดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก เราเรียกวิถีโคจรของดวงอาทิตย์เมื่อมองจากผิวโลกของทรงกลมฟ้านี้ว่า เส้นระวิมรรค (Ecliptic) หรือเส้นอุปราคา ซึ่งจะมุม e กับแกนเหนือใต้ของโลก (มุม e ปัจจุบันมีค่าประมาณ 22.5 องศา) มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า มุมอิคลิปติค (Ecliptic Angle) มีค่าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเสมอ วิถีการโคจรนี้มีลักษณะเป็นทรงกลมใหญ่ มีทิศทางจากตะวันตกไปทิศตะวันออกตามธรรมชาติการโคจรของดวงอาทิตย์

            วิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรเท่ากับมุม e ด้วย เส้นระวิมรรคจะตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า 2 จุด ดังนี้

            จุดตัดขาขึ้นเรียกว่า อุตตรวิษุวัต หรือ วิษุวัต (Vernal Equinox)

            จุดตัดขาลงเรียกว่า ทักษิณวิษุวัต หรือ ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)

และยังมีอีก 2 จุดที่มีความสำคัญยิ่งทางโหราศาสตร์ คือ

            จุดที่อาทิตย์โคจรปัดเหนือสุด เรียกว่า อุตตรมหากรานติ หรือ ศรีษมายัน (Summer Solstice)

            จุดที่อาทิตย์โคจรปัดใต้สุด เรียกว่า ทักษิณมหากรานติ หรือ เหมายัน (Winter Solstice)

            เส้นระวิมรรคนี่เองที่เป็นที่มาของจักรราศี จุดตั้งต้นของจักรราศีคือ จุดวิษุวัตหรือจุดเมษ นักโหราศาสตร์แบ่งเส้นระวิมรรคหรือจักรราศีเป็น 12 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีชื่อเรียกว่า ราศี แต่ละราศีมีความกว้าง เท่ากับ 30 องศา มีชื่อเรียกคล้ายกับชื่อเดือน

            การแบ่งจักรราศีออกเป็นราศีต่างๆโดยใช้จุดเมษหรือจุดวิษุวัตเป็นจุดตั้งต้น เรียกว่า จักรราศีสายนะ (Tropical Zodiac) ซึ่งโหราศาสตร์ระบบยูเรเนี่ยนก็ใช้จักรราศีนี้ จักรราศีอีกระบบหนึ่งซึ่งใช้ตำแหน่งที่ตรงกับดาวฤกษ์จิตรา (Spica) เป็นจุดตั้งต้น เราเรียกระบบนี้ว่า จักรราศีระบบนิรายนะ (Sideral Zodiac) โหราศาสตร์ไทย พม่า และอินเดียใช้จักรราศีระบบนี้ จุดตั้งต้นจักรราศีทั้งสองระบบนี้มีค่าต่างกันประมาณ 22-23 องศา และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆปีละ 55 ฟิลิปดา ค่าองศาของจุดตั้งต้นจักรราศีที่แตกต่างนี้ เรียกว่า ค่าอายนางศ์ (Precession)

view
view